หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ ออกกำลัง ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี 17-4-. 2567 อย่างสบายใจครับ เมษายน 14, 2567 รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ ออกกำลัง ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี 17-4-. 2567 อย่างสะบายใจครับ ความคิดเห็น ข่าวสารสัมพันธ์14 เมษายน 2567 เวลา 01:36หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ ออกกำลัง ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี 17-4-. 2567 อย่างสะบายใจครับตอบลบคำตอบตอบ ข่าวสารสัมพันธ์14 เมษายน 2567 เวลา 23:35ทานบารมี คือ การให้ การบริจาค ในคัมภีร์พุทธศาสนาได้จารึกเอาไว้ว่า การสร้างทานบารมีเป็นสิ่งแรกๆ ที่มนุษย์พึงควรปฏิบัติ แต่ทว่าคำว่าการให้ทานนั้นต้องให้ด้วยปัญญา ไม่ได้ให้ด้วยความรู้สึกเพียงว่าแค่อยากให้ท่านพระมหาวุฒิชัย หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี ท่านเป็นปราชญ์ยุคใหม่ เคยกล่าวเอาไว้ว่า “มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ” นอกจากมือแล้วยังเชื่ออีกว่า ใจของผู้ให้นั้นย่อมประเสริฐกว่าเช่นกัน ใครที่ไม่เคยคิดจะให้อะไรกับใครเลยถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่คบยากในการให้นั้น เมื่อให้แล้ว “มือที่ปล่อยวัตถุที่ให้ไป ใจของผู้ให้ควรปล่อยตาม” แล้วทานนั้นจะมีอานิสงส์มาก ซึ่งตลอดชีวิตผมเชื่อแบบนี้มาโดยตลอดนอกจากนี้ ในตำรายังกล่าวว่า ผู้ให้ทานมักจะไม่ลำบากยากจน และยังเป็นกุศลที่ข้ามภพชาติอีกด้วย เมื่อเขียนแบบนี้หลายคนที่มีแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์อาจจะไม่ค่อยเชื่อ เพราะมองว่าพิสูจน์ไม่ได้ แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้พิสูจน์ได้มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก หรือ บิล เกตส์ เจ้าของซอฟต์แวร์ชื่อดัง เหล่านี้ร่ำรวยและไม่ได้นับถือพุทธศาสนา แล้วทำไมร่ำรวย ถ้าหากบอกว่า อดีตชาติเขาทำทานมามาก ก็ย่อมเกิดคำถามอีกว่าเอาอะไรมาพิสูจน์การพิสูจน์ก็ต้องดูการกระทำในปัจจุบัน เพราะคำสอนในทางพุทธนั้นบอกแล้วว่า สิ่งเหล่านี้ติดจิตวิญญาณข้ามภพชาติไป ทั้งสองคนปัจจุบันก็มุ่งทำทานอย่างมากมายผ่านระบบมูลนิธิของตนเอง ตามที่เป็นข่าวใหญ่โต อย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก สละหุ้นในเฟซบุ๊กของตัวเองให้เป็นทุนการศึกษาสำหรับคนด้อยโอกาสทั่วโลก บิล เกตส์ ก็คล้ายๆ กันนิสัยของการเป็นผู้ให้นั้น ติดข้ามภพชาติอย่างแท้จริง จึงทำให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีฐานะดี มีเงินทอง ในเมืองไทยเองลองสังเกตดู คนที่มีทรัพย์มากๆ เวลาเราไปบอกงานบุญงานกุศลไม่มีใครปฏิเสธเลยสักคน แต่จะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของผู้บอกบุญและความสำคัญของงานบุญนั้นๆ นี่ก็เป็นนิสัยอย่างหนึ่งเช่นกัน...“ยิ่งให้ ยิ่งได้” จึงไม่ใช่เป็นแค่เพียงความเชื่อแต่เป็นความจริง เพียงแต่หลักการในการให้ ตามคำสอนนั้นก็มีการบันทึกเอาไว้ว่า การให้แล้วถือว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่นั้น ต้องมีที่มาที่สะอาดและถูกต้อง ประกอบไปด้วยที่มาของวัตถุทานนั้นต้องซื้อหามาด้วยเงินที่บริสุทธิ์ ความคิดจิตใจก่อนถวายทาน ขณะที่ถวายทานและหลังถวายทาน ต้องแจ่มใสเป็นกุศล ยิ่งถ้าผู้รับจิตใจสูงด้วยธรรมแล้วผลทานยิ่งเกิดเร็วคตินิยมแบบนี้จึงทำให้ผู้คนนิยมที่จะถวายทานกัน จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือเรื่องที่แปลก แต่สิ่งที่สำคัญต่อมาเมื่อมีทรัพย์แล้วนี่ บริหารทรัพย์เป็นหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่งบางคนบริหารทรัพย์ไม่เป็นก็หมดพระพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า เมื่อมีทรัพย์แล้ว ให้แบ่งไว้ใช้ส่วนตัวส่วนหนึ่งประมาณ 25% เอาไว้ใช้รักษาตัวยามเจ็บไข้ส่วนหนึ่งประมาณ 25% และเอาไว้ลงทุนอีกส่วนหนึ่งประมาณ 50%หลักนี้นักคิดตะวันตกก็เอาไปคิดต่อยอดแล้วก็เขียนหลักสูตรมากมายเกี่ยวกับการบริหารเงิน ในเมืองไทยมีผู้ชำนาญเรื่องการเงินคนหนึ่ง คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ เป็นกูรูทางด้านการเงิน มีผลงานหนังสือขายดีและหนังสือเสียงด้วย กระทั่งได้รับฉายาว่า มันนี่โค้ช ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารเงินได้ดีคุณจักรพงษ์ได้บอกว่า การลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะทำให้เงินทำงานด้วยตัวของมันเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือจะต้องเป็นผู้บริหารอยู่ในรอยของธรรม คือมีสติในการใช้ มีสติในการคิดหาเพื่อลงทุนการเงินกับธรรมะ บางคนอาจมีความคิดว่าคนละทางกัน ทำไมมาอยู่ในรอยเดียวกันได้ คุณจักรพงษ์แนะนำว่า “การใช้จ่ายอย่างมีสติมีความรู้สึกตัว จะทำให้เรามองเห็นว่าสิ่งใดที่จำเป็น สิ่งใดที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อเรามีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ต่อไปการใช้เงินของเราจะเป็นการใช้เงินด้วยสติมากกว่ากว่าการใช้เพียงแค่มีความอยากใช้”บางคนซื้อของซ้ำๆ ที่มีอยู่แล้ว ซ้ำมาซ้ำไป เช่น กระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่นาฬิกา เวลาใช้ก็ใช้ทีละคู่ สวมใส่นาฬิกาทีละเรือน และขับรถทีละคัน สิ่งที่เป็นแรงปรารถนาในใจของคุณจักรพงษ์ คือ ต้องการให้คนไทยมีวินัยเรื่องของการเงินแล้วจะไม่มีความทุกข์ในเรื่องของการเงินอีกต่อไป เมื่อมีทรัพย์เข้ามาก็จะทำให้มีเข้ามามากกว่าที่ใช้จ่าย เท่านี้ก็ทำให้ความทุกข์ทางด้านการเงินเราหมดไปชีวิตจริงจะใช้ธรรมะเรื่องพรหมวิหาร 4 ในการดำเนินชีวิต คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แต่ถ้าเมื่อใดระหว่างทางที่พบอุปสรรค มักจะนำเอาธรรมะหลักอริยสัจ 4 มาใช้ทันที เพื่อกำหนดรู้ดูต้นเหตุของความทุกข์แล้วปล่อยวางออกไปการทำทานก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตตามแนวทางวิถีพุทธเช่นกันที่ขาดไม่ได้ นับเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมต่อไปในการใช้ชีวิตอย่างแท้จริงตอบลบคำตอบตอบเพิ่มความคิดเห็นโหลดเพิ่มเติม... แสดงความคิดเห็น
หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ ออกกำลัง ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี 17-4-. 2567 อย่างสะบายใจครับ
ตอบลบทานบารมี คือ การให้ การบริจาค ในคัมภีร์พุทธศาสนาได้จารึกเอาไว้ว่า การสร้างทานบารมีเป็นสิ่งแรกๆ ที่มนุษย์พึงควรปฏิบัติ แต่ทว่าคำว่าการให้ทานนั้นต้องให้ด้วยปัญญา ไม่ได้ให้ด้วยความรู้สึกเพียงว่าแค่อยากให้
ตอบลบท่านพระมหาวุฒิชัย หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี ท่านเป็นปราชญ์ยุคใหม่ เคยกล่าวเอาไว้ว่า “มือผู้ให้ย่อมสูงกว่ามือผู้รับ” นอกจากมือแล้วยังเชื่ออีกว่า ใจของผู้ให้นั้นย่อมประเสริฐกว่าเช่นกัน ใครที่ไม่เคยคิดจะให้อะไรกับใครเลยถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่คบยาก
ในการให้นั้น เมื่อให้แล้ว “มือที่ปล่อยวัตถุที่ให้ไป ใจของผู้ให้ควรปล่อยตาม” แล้วทานนั้นจะมีอานิสงส์มาก ซึ่งตลอดชีวิตผมเชื่อแบบนี้มาโดยตลอด
นอกจากนี้ ในตำรายังกล่าวว่า ผู้ให้ทานมักจะไม่ลำบากยากจน และยังเป็นกุศลที่ข้ามภพชาติอีกด้วย เมื่อเขียนแบบนี้หลายคนที่มีแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์อาจจะไม่ค่อยเชื่อ เพราะมองว่าพิสูจน์ไม่ได้ แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้พิสูจน์ได้
มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก หรือ บิล เกตส์ เจ้าของซอฟต์แวร์ชื่อดัง เหล่านี้ร่ำรวยและไม่ได้นับถือพุทธศาสนา แล้วทำไมร่ำรวย ถ้าหากบอกว่า อดีตชาติเขาทำทานมามาก ก็ย่อมเกิดคำถามอีกว่าเอาอะไรมาพิสูจน์
การพิสูจน์ก็ต้องดูการกระทำในปัจจุบัน เพราะคำสอนในทางพุทธนั้นบอกแล้วว่า สิ่งเหล่านี้ติดจิตวิญญาณข้ามภพชาติไป ทั้งสองคนปัจจุบันก็มุ่งทำทานอย่างมากมายผ่านระบบมูลนิธิของตนเอง ตามที่เป็นข่าวใหญ่โต อย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก สละหุ้นในเฟซบุ๊กของตัวเองให้เป็นทุนการศึกษาสำหรับคนด้อยโอกาสทั่วโลก บิล เกตส์ ก็คล้ายๆ กัน
นิสัยของการเป็นผู้ให้นั้น ติดข้ามภพชาติอย่างแท้จริง จึงทำให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีฐานะดี มีเงินทอง ในเมืองไทยเองลองสังเกตดู คนที่มีทรัพย์มากๆ เวลาเราไปบอกงานบุญงานกุศลไม่มีใครปฏิเสธเลยสักคน แต่จะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของผู้บอกบุญและความสำคัญของงานบุญนั้นๆ นี่ก็เป็นนิสัยอย่างหนึ่งเช่นกัน...
“ยิ่งให้ ยิ่งได้” จึงไม่ใช่เป็นแค่เพียงความเชื่อแต่เป็นความจริง เพียงแต่หลักการในการให้ ตามคำสอนนั้นก็มีการบันทึกเอาไว้ว่า การให้แล้วถือว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่นั้น ต้องมีที่มาที่สะอาดและถูกต้อง ประกอบไปด้วยที่มาของวัตถุทานนั้นต้องซื้อหามาด้วยเงินที่บริสุทธิ์ ความคิดจิตใจก่อนถวายทาน ขณะที่ถวายทานและหลังถวายทาน ต้องแจ่มใสเป็นกุศล ยิ่งถ้าผู้รับจิตใจสูงด้วยธรรมแล้วผลทานยิ่งเกิดเร็ว
คตินิยมแบบนี้จึงทำให้ผู้คนนิยมที่จะถวายทานกัน จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือเรื่องที่แปลก แต่สิ่งที่สำคัญต่อมาเมื่อมีทรัพย์แล้วนี่ บริหารทรัพย์เป็นหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่งบางคนบริหารทรัพย์ไม่เป็นก็หมด
พระพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า เมื่อมีทรัพย์แล้ว ให้แบ่งไว้ใช้ส่วนตัวส่วนหนึ่งประมาณ 25% เอาไว้ใช้รักษาตัวยามเจ็บไข้ส่วนหนึ่งประมาณ 25% และเอาไว้ลงทุนอีกส่วนหนึ่งประมาณ 50%
หลักนี้นักคิดตะวันตกก็เอาไปคิดต่อยอดแล้วก็เขียนหลักสูตรมากมายเกี่ยวกับการบริหารเงิน ในเมืองไทยมีผู้ชำนาญเรื่องการเงินคนหนึ่ง คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ เป็นกูรูทางด้านการเงิน มีผลงานหนังสือขายดีและหนังสือเสียงด้วย กระทั่งได้รับฉายาว่า มันนี่โค้ช ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารเงินได้ดี
คุณจักรพงษ์ได้บอกว่า การลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะทำให้เงินทำงานด้วยตัวของมันเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือจะต้องเป็นผู้บริหารอยู่ในรอยของธรรม คือมีสติในการใช้ มีสติในการคิดหาเพื่อลงทุน
การเงินกับธรรมะ บางคนอาจมีความคิดว่าคนละทางกัน ทำไมมาอยู่ในรอยเดียวกันได้ คุณจักรพงษ์แนะนำว่า “การใช้จ่ายอย่างมีสติมีความรู้สึกตัว จะทำให้เรามองเห็นว่าสิ่งใดที่จำเป็น สิ่งใดที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อเรามีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ต่อไปการใช้เงินของเราจะเป็นการใช้เงินด้วยสติมากกว่ากว่าการใช้เพียงแค่มีความอยากใช้”
บางคนซื้อของซ้ำๆ ที่มีอยู่แล้ว ซ้ำมาซ้ำไป เช่น กระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่นาฬิกา เวลาใช้ก็ใช้ทีละคู่ สวมใส่นาฬิกาทีละเรือน และขับรถทีละคัน สิ่งที่เป็นแรงปรารถนาในใจของคุณจักรพงษ์ คือ ต้องการให้คนไทยมีวินัยเรื่องของการเงินแล้วจะไม่มีความทุกข์ในเรื่องของการเงินอีกต่อไป เมื่อมีทรัพย์เข้ามาก็จะทำให้มีเข้ามามากกว่าที่ใช้จ่าย เท่านี้ก็ทำให้ความทุกข์ทางด้านการเงินเราหมดไป
ชีวิตจริงจะใช้ธรรมะเรื่องพรหมวิหาร 4 ในการดำเนินชีวิต คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แต่ถ้าเมื่อใดระหว่างทางที่พบอุปสรรค มักจะนำเอาธรรมะหลักอริยสัจ 4 มาใช้ทันที เพื่อกำหนดรู้ดูต้นเหตุของความทุกข์แล้วปล่อยวางออกไป
การทำทานก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตตามแนวทางวิถีพุทธเช่นกันที่ขาดไม่ได้ นับเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมต่อไปในการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง